สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปี 2565

บริษัทได้ขยาย หน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพิ่มขึ้น โดยเน้น การก่อสร้าง Green & Smart Living Residence (Passive House) ซึ่งเน้น การพัฒนาและก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่ประหยัด พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องยาวนานจนถึงปี 2565 ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกเริ่ม ผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ และเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศ ได้ อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอีกภาคธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติการณ์ ครั้งนี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจก่อสร้างต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งด้าน ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ปัญหาด้านแรงงานการชะลอการลงทุนจาก ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนส่งผลให้การเติบโตของภาคธุรกิจก่อสร้างในช่วง 3 ปีที่ ผ่านมา มีการเติบโตเพียงเล็กน้อย โดยใน ปี 2565 มูลค่าการลงทุนภาคก่อสร้างโดยรวม ลดลง -1.2% อยู่ที่ 1,348.6 พันล้านบาท โดยเป็นการหดตัวของโครงการภาครัฐ -2.7% ขณะที่ ภาคเอกชนยังทรงตัวหรือขยายตัว เล็กน้อย 0-1.0% ในส่วนของราคาวัสดุก่อสร้าง ปี 2565 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างทั้งปีเพิ่ม ขึ้น 5.5- 6.5% โดย 9 เดือนแรก ปรับเพิ่มขึ้น 6.5% YoY ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็ก (+10.7% YoY) และตาม ทิศทางการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและค่า ขนส่งซึ่งเป็นต้นทุนหลัก

ภายใต้สถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้นผลประกอบการของบริษัทยังคงมีกําไรแม้จะต่ํากว่าปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยสําคัญ โดยกําไรสุทธิลดลงจากปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 82 ทั้งนี้เกิดจาก ต้นทุน การก่อสร้างโดยเฉพาะเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ ซึ่งเป็นต้นทุนสําคัญในการ ก่อสร้างมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็วประกอบกับการแข่งขันทางธุรกิจที่ รุนแรง ตั้งแต่ตอน เริ่มต้นของการระบาดของโรคโควิด-19 ทําให้บริษัทจําเป็นต้องลด อัตรากําไร (margin) ลงในบางโครงการ เพื่อให้ชนะการประมูลงาน เนื่องจากสถานการณ์ ณ ขณะนั้น ยังมีความไม่ แน่นอนสูง โดยโครงการก่อสร้างเหล่านั้นยังมีบางโครงการที่ ต่อเนื่องและยังไม่ได้จบโครงการมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้จะเผชิญกับอุปสรรค จากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 แต่บริษัทได้พยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะฟันฝ่าปัญหา จนสามารถดําเนินงานทุกโครงการให้เป็นไปตามแผน และส่งมอบงาน ได้ตามกําหนดเวลา พร้อมทั้งยังสามารถ บริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะเดียวกันปริมาณงานในมือ (Back log) ณ สิ้นปี 2565 ก็เป็นตามเป้าหมาย ที่วางไว้

ปี 2566 นับเป็นปีแห่งความท้าทายสําหรับภาคธุรกิจ แม้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะมี แนวโน้มฟื้นตัวขึ้นจากแรงขับดันหลักของภาคธุรกิจท่องเที่ยว แต่ทั่วโลกยังต้องเผชิญ กับความ ผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก อาทิ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงต่อเนื่องและนําไปสู่มาตรการคว่ําบาตรทางการค้าและวิกฤติพลังงานที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ําหรือเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัท ได้ติดตามสถานการณ์โลก และประเมินผลกระทบเป็นระยะอย่างใกล้ชิดและได้จัดทําแผน บริหารความ เสี่ยงและแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) ไว้อย่างเหมาะสมและรอบคอบ มีการประชุมระดับผู้บริหารเป็นประจําเพื่อติดตามความคืบ หน้าทางด้านผลการ ปฏิบัติงาน สถานะทางการเงิน ผลการประมูลงาน เพื่อพร้อมรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงในทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

มูลค่าการลงทุนภาคก่อสร้างโดยรวม 3 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 4.5-5.0% ต่อปี ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเร่งลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐภาวะ เศรษฐกิจที่ จะทยอยฟื้นตัว ซึ่งจะหนุนให้การลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนทั้งโครงการที่อยู่ อาศัยและโครงการเพื่อการพาณิชย์กระเตื้องขึ้น โดยการลงทุนก่อสร้างภาครัฐคาดว่าจะ ขยายตัวเฉลี่ย 5.0-5.5% ต่อปี ขณะที่ภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 4.0-4.5% ต่อปี ด้านราคาวัสดุก่อสร้างปี 2566-2568 มีแนวโน้มโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ปัจจัยการฟื้นตัวของอุปสงค์ในภาคก่อสร้าง และการปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบนําเข้า อาทิ เศษเหล็ก (Scrap) เหล็กแท่งเล็ก (Billet) ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดโลก บริษัทคาดการณ์ว่าผล ประกอบการในปี 2566 จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด โดยมีการ รับรู้รายได้จากโครงการเดิมที่มีกําหนดแล้วเสร็จในปีและโครงการใหม่ๆ ที่บริษัทชนะ ประมูลงานหลายโครงการ ทั้งนี้จะ รักษาอัตรากําไร (margin) ไม่ให้ต่ํากว่าร้อยละ 13 ในโครงการภาคเอกชน และมีเป้าหมายการรับงานใหม่ (Back log) เป็นมูลค่าโครงการ รวม 2,000 ล้านบาท

ปี 2566 ความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ํา (Transition to Low carbon economy) มีทิศทางที่เข้มข้นมากขึ้น สะท้อนจากการตอกย้ําจุดยืนของ ประชาคมโลก รวมถึงประเทศไทยในเวทีการประชุม COP27 และการประชุม APEC ในช่วง เดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา การเดินหน้าบังคับใช้มาตรการ CBAM ของยุโรป ตั้งแต่ปี 2566 ขณะที่ประเทศไทยมีแผนที่จะกําหนดมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทาง เศรษฐกิจที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ตลอดจนการปรับเปลี่ยนนโยบาย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่ให้ความสําคัญกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทได้ เตรียมพร้อมและปรับแผนธุรกิจเพื่อนําไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตโดยในส่วน ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง บริษัทได้ขยาย หน่วยธุรกิจ (Business Unit)เพิ่มขึ้น โดยเน้น การก่อสร้าง Green & Smart Living Residence (Passive House) ซึ่งเน้นการ พัฒนาและก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่ประหยัด พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท เฟรเกรนท์ พร็อพเพอร์ตี้ จํากัด (มหาชน) ในการนํา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการก่อสร้างจากประเทศเยอรมัน ซึ่งทางเฟรเกรนท์ได้นํามาศึกษา ค้นคว้าอย่างละเอียด และสามารถพัฒนาระบบงานก่อสร้าง รวมถึงโครงสร้างอาคารโดย ใช้เทคนิคพิเศษทําให้เกิดเป็นอาคารประหยัดพลังงาน (Passive House) ที่สามารถกัน ความร้อนได้เกิน 90% โดยมีการทดสอบพลังงานความร้อนและแสงที่ลอด ผ่านให้อยู่ใน เกณฑ์ตามรายการออกแบบ ส่วนในด้านระบบปรับอากาศและระบายอากาศ จะมีระบบ ฟอกอากาศในบ้านทั่วอาคาร ทําให้อากาศในบ้านสดชื่นหมุนเวียน เป็นไปตามค่ามาตรฐาน รวมถึงช่วยรักษาอุณหภูมิ และความชื้นภายในอาคารให้พอเหมาะ คงที่ตลอด 365 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ ลดภาวะโลกร้อน และไม่ ทําลายทรัพย์สิน เครื่องใช้ในบ้าน ที่สําคัญคือ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า 80% จากการใช้งบประมาณปกติ (ในอาคารสร้างใหม่) และมากกว่า 50% ในการปรับปรุงอาคารเดิม

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ขยายธุรกิจด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีการก่อสร้าง โดยนํา เข้าผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับนวัตกรรมการก่อสร้างที่มีคุณภาพสูงจากอเมริกา และยุโรป ภายใต้ชื่อ บริษัท คอนส์ อินโน จํากัด โดยนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยย่นระยะเวลาใน กระบวนการก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้นยิ่งไปกว่านั้น บริษัทมี แผนที่จะขยายการลงทุนไปยังธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงลงทุนในธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสําคัญกับโครงการที่สร้าง รายได้ต่อเนื่อง

ควบคู่ไปกับการบริหารธุรกิจภายใต้สถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรอบคอบระมัดระวังเป็นพิเศษแล้วบริษัทยังคงมีเจตนารมณ์และเป้าหมายที่จะผลักดันการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการกําาหนดนโยบายและเป้าหมาย การจัดการด้านความยั่งยืน โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มด้วยความตระหนักว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่ช่วยส่งเสริมฐานรากขององค์กรให้มีความมั่นคงและแข็งแรง ที่จะช่วยขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และคุณค่าร่วมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ในนามของคณะผู้บริหาร บริษัท ไทย อิงเกอร์ โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) ขอขอบคุณผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่ให้ความเชื่อมั่นและสนับสนุนการดําเนินงานของบริษัทฯ ด้วยดีเสมอมา รวมถึงพนักงานทุกคน ซึ่งล้วนเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ก้าวสู่การเป็น “Innovative and Technology Con-struction Company for Sustainable Living” อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

นายจตุรงค์ ศรีกุลเรืองโรจน์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร